กิจกรรมที่ 6 การทำ Blogger
จากการศึกษาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา ได้เรียนรู้การทำบล็อกเป็นของตนเอง ทำให้ได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ทำเพราะมีความสุขที่จะทำ
2. ทำแล้วมีความสุขก็ทำ
3. ทำแล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเสียหายก็ทำ (ถ้าทำไปแล้วมีคนคิดว่าเสียหาย ก็หยุดได้)
4. ทำแล้วสามารถทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ก็ทำ
เป้าหมายการทำบล็อกของตนเอง
1. แสดงความคิดเห็น นำเสนอเรื่องราวที่เราสนใจ ที่เราชอบ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้อื่น
ผู้อื่น
2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสั่งสม สร้างเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถทางสติปัญญา
และด้านอื่นๆของตนเอง
และด้านอื่นๆของตนเอง
3. สร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่นในชุมชน blog
4. ประโยชน์อื่นใดที่ อาจมีมา หาได้ ทำประประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ต้องการ และสมควรได้รับจากการ
ทำบล็อกในอนาคต
ทำบล็อกในอนาคต
จากการสังเคราะห์ คำว่า 'Blogger บล็อกเกอร์' มาระยะหนึ่ง ขอสรุปเอาจากสิ่งที่พบเห็น มาดูกันนะคะ ว่าพอจะจัดหมวดหมู่ได้อย่างไรบ้าง
ซึ่งสิ่งที่เขียนไว้นี้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้ปฏิบัติตาม บล็อกเกอร์มีอิสระในการแสดงออกและนำเสนอตามความสนใจ ความถนัด ความต้องการ จะเลือกทำบทบาทใดบทบาทหนึ่ง หรือ ผสมกันไปก็ย่อมได้ ส่วนแนวทางที่ควรหรือไม่ควรปฏิบัติไม่ใช้วัตถุประสงค์ของบทความนี้ค่ะ หากจะมีก็เป็นเพียงคำแนะนำในบางจุดเท่านั้น ซึ่งบล็อกเกอร์จะนำไปใช้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นควรของตนเองนะคะ คนที่จะตัดสินคือ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของ บล็อกเกอร์ หรือบุคคลทั่วไป ที่จะแวะมาที่บล็อก หรือ เจ้าของบล็อกที่ บล็อกเกอร์ไปหาเขานั่นเองค่ะ ว่าเขาจะชอบ จะชัง แบบใด ต้องสังเกตุหรือหาข้อมูลเอาเองนะคะ
สถานภาพของ Blogger และบทบาทโดยสังเขป
1) Contributor ผู้เขียนเรื่อง หรือจะเรียก Producer ผู้ผลิต ก็ ได้เช่นกัน เพราะงานในบล็อกมิได้มีเพียงแค่เนื้อหา แต่ยังมีองค์ประกอบเสริมที่จะทำให้เรื่องน่าสนใจ น่าอ่าน ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสาระ ตรงตามที่เราตั้งใจ ซึ่งอาจจะเป็น วิชาการ ความรู้ บันเทิง กิจกรรม การกุศล หรืออะไรก็แล้วแต่ทีเราตั้งใจจะส่งออกไปให้ผู้เสพบล็อกได้รับ จะเขียนสั้น เขียนยาว หรือเป็นคำถามให้คิด ให้ตอบ ให้ร่วมสนุก ก็ตาม
ในส่วน Content หรือ เนื้อหาของ เรื่องที่โพสในบล็อกกันนั้น ก็มีหลายแบบ แต่ละแบบมีวิธีเขียน หรือ นำเสนอแตกต่างกันได้ เช่น การเขียนไดอารี่จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวัน ไม่ต้องมีบทนำ บทสรุป ข้อคิด แตกต่างจากการ เขียนบล็อกที่ส่วนใหญ่จะมีแบบแผนในการเขียนเหมือนการเขียนเรียงความ มีการใช้ลูกเล่นได้หลากหลาย
ตัวอย่างประเภทของเนื้อหา ได้แก่
- เขียนโครงการ ใช้เป็นเวทีทำกิจกรรม เนื่องในโอกาสต่างๆ หรือทำธุรกรรมการค้า หารายได้ ทั้งที่หากำไร และ ไม่หากำไร
- เขียน/พูด/รายงาน เองทั้งหมด (ในอนาคตอาจมีการเขียนสคริปต์ให้กันด้วย) จากการค้นคว้า จากเหตุการณ์ จากการสัมภาษณ์ จากความทรงจำ จากอารมณ์ จากประสบการณ์ เช่น ไดอารี่ เรื่องสั้น บทความต่างๆ คู่มือต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องนี้ การายงานข่าว การสัมภาษณ์สด Blog Talk, Blog Cast
- เขียนขึ้นเองทั้งหมดจากแหล่งข้อมูลของตัวเอง หรือที่ตัวเองรวบรวมมา คล้ายๆการทำรายงานหรือวิทยานิพนธ์ โดยระบุที่มาและให้เครดิตเจ้าของเนื้อหา
- งานแปล จากภาษาอื่นโดยตัวเอง โดยได้รับอนุญาตจากผู้แต่ง
- นำบทความของคนอื่นมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อดึงจุดที่ตนเองอยากนำเสนอออกมาให้เด่นชัด ซึ่งเมื่อมีใครมาอ่านจะเข้าใจทันทีว่า ไม่ได้ลอกมาแต่มีการนำความคิดของผู้เขียนไปผสม ยกตัวอย่างเช่น งานวิจารณ์หนังสือ วรรณกรรม บุคคลในข่าว วิเคราะห์ข่าว โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
- การคัดลอกเนื้อหาจากจากแหล่งอื่น เพื่อใช้อ้างอิงในบทความของตนเอง โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
- การคัดลอกผลงานบุคคลอื่นมาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ช่วยโปรโมท หรือเอามาเผยแพร่เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน ชื่นชม ประหลาดใจในความแปลก โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
- การเอาเรื่องทั้งหมดของบุคคลอื่นมาแปะในบล็อก 100% ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป
2) Commentator ผู้ออกความเห็น ในฐานะผู้เยือน เมื่อไปอ่านไปเยี่ยมชมบล็อกของคนอื่น ก็ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติและแสดงตนให้เหมาะสมกับตัวเอง เนื้อหา อารมณ์ สภาวะแวดล้อมของเรื่อง ของบล็อก ของบล็อกเกอร์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ตลอดจนห้วงเวลาที่เราไปหา เช่น อ่านเนื้อเรื่องแล้ว ต้องอ่านคอมเมนต์ประกอบไปด้วย จึงจะเห็นภาพรวมได้ และ ช่วยให้การออกความเห็นมีรสชาตดีกว่าการไม่อ่านอะไรเลย หรืออ่านแต่เพียงหัวข้อ เนื้อเรื่องนิดหน่อยแล้วสรุปเหมาเอาเอง
ในส่วนวิธีการเขียนคอมเมนต์ ก็มีหลายแบบ เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น
- อ่านเรื่องโดยละเอียด แล้วร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆ แม้จะคิดแตกต่างก็แสดงออก บางทีเอาเรื่องของตัวเองที่สอดคล้องกับเนื้อหา มาแบ่งปันด้วย
- อ่านเรื่องโดยละเอียด แล้วร่วมแสดงความคิดเห็น แต่ยังเกรงใจอยู่ บางทีเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันด้วย จะเข้ากับเนื้อหา หรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
- อ่านเรื่องบ้าง พอให้ได้ใจความ ก็เขียนความเห็นเลย จะพบความไม่ละเอียดได้จาก การถาม หรือ พูดในสิ่งที่มีอยู่ในเนื้อเรื่องแล้ว บางทีเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
- ไม่อ่านเรื่อง แต่ออกความเห็น อาจจะดูแค่ชื่อเรื่อง แล้วคิดเอาเองว่าน่าจะเป็นเรื่องแนวไหน จะพบเห็นได้ ว่าบางทีก็เขียนไปคนละเรื่องเลย บางทีเอาเรื่องที่ตัวเองเขียน หรือเรื่องของตัวเองมาผสมด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
- อ่านหรือไม่ไม่ทราบ แต่มาชักชวนให้ไปเที่ยว บล็อกตัวเอง
- ไม่อ่านอะไรเลย เอาลิงค์มาแปะไว้เฉยๆ บางทีมีการทักทายก่อน บางทีไม่มีการทักทาย
- มาทักทาย ตามเวลา ตามโอกาส มาแสดงตัวว่ามาเยี่ยม
- มาสนทนา มาโต้ตอบ
- เจ้าของบล็อกมาตอบคอมเมนต์
- มาถามหา มาเสนอแนะ ให้คำแนะนำ แนะนำแหล่งข้อมูลดีดี
- มาชักชวนไปทำกิจกรรมร่วมกัน มาชักชวนไปอ่านเรื่องดีดีของบล็อกอื่น
- มาตั้งคำถาม ตั้งขอสงสัย ขอความช่วยเหลือ
- มาตอบคำถาม มาคลายข้อข้องใจ มาให้ความช่วยเหลือ
- มาแสดงอารมณ์ ดีใจ สุข เศร้า เหงา ผิดหวัง บ่น เช่น ทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับแฟน ทีมบอลที่เชียร์อยู่ชนะ หรือ แพ้ มีคำสั่งยุบพรรค ไม่ยุบพรรค กรณีนี้จะเกิดในกลุ่มที่คุยกัยบ่อยๆ หรือ รู้อยู่ว่า คอเดียวกัน
อาจารย์ได้อ่านแล้วตอบยังไม่ตรงประเด็นมากหนัก
ตอบลบ